การแต่งงานกับชาวต่างชาติและการถือครองทรัพย์สินในไทย
Posted: Thu Dec 29, 2005 9:47 am
การแต่งงานและการเสียสิทธิในเมืองไทย
สิ่งที่เป็นหนามยอกอกของผู้หญิงไทยหลายๆ คนที่แต่งงานกับคนต่างชาติก็คือ การเสียสิทธิซื้อบ้านและที่ดินในประเทศไทย คำกล่าวที่ว่า "แต่งงานกับฝรั่งแล้วหมดสิทธิซื้ออสังหาริมทรัพย์" ทำให้ผู้หญิงไทยอดแค้นใจในกฎหมายไทยไม่ได้ วันนี้เราจะมาลอง "ส่องกล้อง" ดูให้ถ่องแท้ว่ากฎหมายไทย "ใจดำ" จริงๆ หรือ
ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาตามกฎหมายไทย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หมวด 4 ว่าด้วยเรื่อง ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา มาตรา 1475 กล่าวว่า ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส หรือได้โดยพินัยกรรมซึ่งระบุให้เป็นสินสมรส หรือดอกผลของสินส่วนตัว ให้ถือว่าเป็นสินสมรส
หมายความว่า สำหรับกฎหมายไทยนั้น ไม่ว่าสามีของคุณจะเป็นไทย เจ๊ก แขก ฝรั่ง ทรัพย์สินที่ได้มาหลังจากจดทะเบียนสมรสต้องเป็นสินสมรสหมด (นอกจากคุณจะจดทะเบียนแยกทรัพย์สินส่วนตัว ไว้กับนายทะเบียนตอนจดทะเบียนสมรส) ซึ่งเมื่อหย่ากันก็ต้องเอาสองหาร ถ้าสามีของคุณเป็นคนไทย แผ่นดินไทยก็ไม่เดือดร้อนอะไร เท่าไรถ้าคุณจะต้องแบ่งบ้านและที่ดินให้สามี เพราะถือว่าเป็นเจ้าของแผ่นดินเหมือนกัน แต่ถ้าเกิดสามีเป็นคนต่างชาติ ก็จะไปขัดแย้งกับประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 86 ซึ่งห้ามคนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน ยกเว้นแต่จะถือกรรมสิทธิ์เพื่อใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจการค้า อันจะนำประโยชน์มาสู่ประเทศไทย
แต่งงานกับฝรั่งแล้ว เหมือนถูกพันธนาการจริงๆ หรือ
การหาวิธีการต่างๆ ที่จะซื้อบ้านซื้อที่ดินหลังจากจดทะเบียนสมรสกับคนต่างด้าว แทบจะกลายเป็นวงจรชีวิตของคนไทย ที่แต่งงานมาอยู่ต่างประเทศ บางคนก็หาวิธี ไม่ยอมเปลี่ยนนามสกุล และเปลี่ยนบัตรประชาชน ใช้นามสกุลเดิมเพื่อปกปิดการสมรสในประเทศไทย หรือทำให้สามีเข้าใจว่าเขามีกรรมสิทธิร่วมในที่ดิน เป็นต้น
ดิฉันอยากจะขอแนะนำ ให้หาทางซึ่งถูกต้องตามกฎหมายจะดีกว่า เพราะมั่นคงและปลอดภัยสำหรับตัวของคุณไม่เสี่ยงต่อการไปพบปสรรคที่คิดไม่ภายหลัง
หนามยอก เอาหนามบ่ง
วิธีการที่ถูกกฎหมายคือ เมื่อถูก "กฎหมายยอก" ก็ต้องเอา "กฎหมายมาบ่ง" เช่น
เช่าที่ดินเพื่อปลูกสร้างบ้าน กฎหมายอนุญาตให้คนต่างด้าวเช่าที่ดินได้ 30 ปี และต่ออายุไปอีกจนถึง 90 ปี
ซื้อที่ดิน (ใครจะเป็นคนซื้อก็ได้) แล้วลงชื่อให้เป็นกรรมสิทธิ์ของญาติพี่น้อง (ซึ่งไว้ใจกันได้) แล้วคุณก็ทำสัญญาเช่าหลายสิบปี ถ้าคุณหย่ากับสามีฝรั่งแล้ว ก็คุณก็สามารถไปโอนชื่อกลับมาเป็นของคุณได้ โดยมีใบสำคัญการหย่าไปแสดงเป็นหลักฐาน
ขอเตือนอย่างหนึ่งว่า ควรเล่นมือสะอาด ในกรณีที่สามีของคุณเป็นผู้ออกเงินให้ซื้อ จะต้องให้เขารับทราบว่า เขาไม่มีส่วนร่วมในกรรมสิทธิ์ที่ดินนี้ แต่เขามีสิทธิเรียกร้องเงินคืนได้ถ้าจะเอากันขนาดถึงโรงถึงศาล (โปรดอ่านหัวข้อ "คนต่างชาติไม่มีสิทธิในที่ดิน แต่มีสิทธิในเงินค่าที่ดิน")
กฎหมายอนุญาตให้คนต่างด้าวซื้อที่ดินแบบนิติบุคคลได้ (เพื่อทำกิจการธุรกิจ) ในเรื่องนี้ขอให้ดูรายละเอียดในหนังสือเรื่อง "สิทธิของฉันในเยอรมัน"
กรมที่ดินวางระเบียบไว้ว่า ถ้าผู้หญิงไทยที่สมรสกับคนต่างด้าว นำเงินที่เป็นสินส่วนตัวไปซื้อที่ดิน โดยนำหลักฐานการงานและรายได้ไปแสดงให้กรมที่ดินเชื่อได้ ก็รับที่จะจดทะเบียนให้ โดยถือว่าที่ดินนั้นเป็นสินส่วนตัว
ในเรื่องนี้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1471 และ 1472 กล่าวไว้ว่า สินส่วนตัวคือทรัพย์สินที่มีมาก่อนสินสมรส หรือได้รับมรดก หรือได้รับโดยเสน่หาในระหว่างการสมรส และถ้าทรัพย์สินนั้นได้แลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินอื่น โดยการซื้อหรือขาย ก็ถือเป็นทรัพย์สินส่วนตัว
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1469 ให้สามีและภรรยาทำสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินกันได้ในระหว่างสมรส ดังนั้น สามีก็อาจจะทำสัญญาว่าจะไม่เรียกร้องสิทธิในกรรมสิทธิ์ของที่ดินที่ภรรยาซื้อ และถือว่าเป็นสินส่วนตัวของภรรยาแต่เพียงผู้เดียว สัญญานี้คุณอาจจะให้สามีทำเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อนำไปยื่นให้กรมที่ดิน แต่ประมวลกฎหมายมาตรานี้กล่าวต่อไปว่า "ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่ หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากันก็ได้ แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริต"
คนต่างชาติไม่มีสิทธิในที่ดิน แต่มีสิทธิในเงินค่าที่ดิน
ถ้าคนต่างชาติออกเงินค่าซื้อที่ดินเพื่อหวังจะใช้ประโยชน์ หรือถ้าคนต่างชาติถูกชักชวนให้ซื้อที่ดิน โดยไม่รู้ว่าตนไม่ได้รับกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของ เมื่อเขาจะต้องสูญเสียที่ดินนั้นไปด้วยเหตุใดก็ตาม เขาสามารถฟ้องศาลเอาเงินคืนได้ ในเรื่องนี้ดิฉันขอจะชี้แจงด้วยการใช้ตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงๆคงจะทุ่นเวลาที่สุด
สามีภรรยา (ฝรั่ง-ไทย) คู่หนึ่งช่วยกันออกเงินซื้อบ้านและที่ดินในประเทศไทยเพื่อจะอยู่ร่วมกัน โดยจดทะเบียนกรรมสิทธิ์บ้านที่ดินเป็นของผู้หญ
โดย: [0 3] ( IP )
--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 1
ิงฝ่ายเดียว (เนื่องจากฝ่ายชายไม่มีสิทธิ) ต่อมาทั้งคู่จดทะเบียนสมรสกัน ขณะยังผ่อนส่งบ้านยังไม่หมดและหม้อข้าวก็ยังไม่ทันจะดำ ทั้งคู่ก็แยกทางกัน เมื่อดูตามรูปการณ์แล้ว บ้านและที่ดินควรจะต้องตกเป็นของฝ่ายหญิงอย่างแน่นอน เพราะได้มาก่อนการสมรส จึงถือเป็นสินส่วนตัว แต่ฝ่ายชายยึดถือหลักความจริง จึงไปขึ้นศาลไทย ศาลไทยได้ตัดสินออกมาว่า ทั้งสองฝ่ายช่วยกันออกเงินซื้อบ้านหลังนั้นเพื่อจะใช้อยู่ร่วมกัน เมื่อจุดประสงค์นี้หมดสิ้นไป ฝ่ายชายก็มีสิทธิได้ส่วนของเขาคืนไป ฝ่ายหญิงต้องขายบ้านนั้นเอาเงินมาแบ่งให้ฝ่ายชายครึ่งหนึ่ง (คำพิพากษาศาลแพ่ง กรุงเทพมหานคร วันที่ 6 กรกฎาคม 2531)
ตัวอย่างนี้สอนให้รู้ว่า ศาลยุติธรรมไม่ได้เป็นทาสของตัวบทกฎหมาย แต่เป็นผู้ใช้กฎหมาย โดยอิงหลักความเป็นจริง
[บทความนี้คัดและย่อมาจากหนังสือเรื่อง "สิทธิของฉันในเยอรมัน" ซึ่งเป็นหนังสือเกี่ยวกับกฎหมายในวงจรชีวิตของคนไทยในเยอรมัน บทความนี้ไม่ใช่คำแนะนำทางกฎหมาย แต่เป็นบทความสนทนาเรื่องปัญหาเกี่ยวกับกฎหมาย และให้ข้อคิดเพื่อเก็บไปคิดต่อ ผู้เขียนไม่ขอรับผิดชอบในความถูกผิดแต่ประการใด>
หนังสือเรื่อง "สิทธิของฉันในเยอรมัน" (Bestell-Nr. 0293) ซึ่งยังมีกฎหมายประจำวันที่สำคัญๆ อีกมากมายเช่น วีซ่าประเภทต่างๆ กฎหมายสมรสและกฎหมายหย่า สิทธิการซื้อที่ดินในเมืองไทยหลังจากแต่งงานแล้ว เป็นต้น โปรดติดต่อสั่งซื้อได้ในราคา 40,- EUR
โดยคุณ สุชาวดี วาคเน่อร์ http://www.thailife.de
ค้นข้อมูล ทนายชูศักดิ์
ขอบคุณคุณ Archin ค่ะที่เอาลิงค์มาฝากกัน
สิ่งที่เป็นหนามยอกอกของผู้หญิงไทยหลายๆ คนที่แต่งงานกับคนต่างชาติก็คือ การเสียสิทธิซื้อบ้านและที่ดินในประเทศไทย คำกล่าวที่ว่า "แต่งงานกับฝรั่งแล้วหมดสิทธิซื้ออสังหาริมทรัพย์" ทำให้ผู้หญิงไทยอดแค้นใจในกฎหมายไทยไม่ได้ วันนี้เราจะมาลอง "ส่องกล้อง" ดูให้ถ่องแท้ว่ากฎหมายไทย "ใจดำ" จริงๆ หรือ
ทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาตามกฎหมายไทย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หมวด 4 ว่าด้วยเรื่อง ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา มาตรา 1475 กล่าวว่า ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส หรือได้โดยพินัยกรรมซึ่งระบุให้เป็นสินสมรส หรือดอกผลของสินส่วนตัว ให้ถือว่าเป็นสินสมรส
หมายความว่า สำหรับกฎหมายไทยนั้น ไม่ว่าสามีของคุณจะเป็นไทย เจ๊ก แขก ฝรั่ง ทรัพย์สินที่ได้มาหลังจากจดทะเบียนสมรสต้องเป็นสินสมรสหมด (นอกจากคุณจะจดทะเบียนแยกทรัพย์สินส่วนตัว ไว้กับนายทะเบียนตอนจดทะเบียนสมรส) ซึ่งเมื่อหย่ากันก็ต้องเอาสองหาร ถ้าสามีของคุณเป็นคนไทย แผ่นดินไทยก็ไม่เดือดร้อนอะไร เท่าไรถ้าคุณจะต้องแบ่งบ้านและที่ดินให้สามี เพราะถือว่าเป็นเจ้าของแผ่นดินเหมือนกัน แต่ถ้าเกิดสามีเป็นคนต่างชาติ ก็จะไปขัดแย้งกับประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 86 ซึ่งห้ามคนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน ยกเว้นแต่จะถือกรรมสิทธิ์เพื่อใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจการค้า อันจะนำประโยชน์มาสู่ประเทศไทย
แต่งงานกับฝรั่งแล้ว เหมือนถูกพันธนาการจริงๆ หรือ
การหาวิธีการต่างๆ ที่จะซื้อบ้านซื้อที่ดินหลังจากจดทะเบียนสมรสกับคนต่างด้าว แทบจะกลายเป็นวงจรชีวิตของคนไทย ที่แต่งงานมาอยู่ต่างประเทศ บางคนก็หาวิธี ไม่ยอมเปลี่ยนนามสกุล และเปลี่ยนบัตรประชาชน ใช้นามสกุลเดิมเพื่อปกปิดการสมรสในประเทศไทย หรือทำให้สามีเข้าใจว่าเขามีกรรมสิทธิร่วมในที่ดิน เป็นต้น
ดิฉันอยากจะขอแนะนำ ให้หาทางซึ่งถูกต้องตามกฎหมายจะดีกว่า เพราะมั่นคงและปลอดภัยสำหรับตัวของคุณไม่เสี่ยงต่อการไปพบปสรรคที่คิดไม่ภายหลัง
หนามยอก เอาหนามบ่ง
วิธีการที่ถูกกฎหมายคือ เมื่อถูก "กฎหมายยอก" ก็ต้องเอา "กฎหมายมาบ่ง" เช่น
เช่าที่ดินเพื่อปลูกสร้างบ้าน กฎหมายอนุญาตให้คนต่างด้าวเช่าที่ดินได้ 30 ปี และต่ออายุไปอีกจนถึง 90 ปี
ซื้อที่ดิน (ใครจะเป็นคนซื้อก็ได้) แล้วลงชื่อให้เป็นกรรมสิทธิ์ของญาติพี่น้อง (ซึ่งไว้ใจกันได้) แล้วคุณก็ทำสัญญาเช่าหลายสิบปี ถ้าคุณหย่ากับสามีฝรั่งแล้ว ก็คุณก็สามารถไปโอนชื่อกลับมาเป็นของคุณได้ โดยมีใบสำคัญการหย่าไปแสดงเป็นหลักฐาน
ขอเตือนอย่างหนึ่งว่า ควรเล่นมือสะอาด ในกรณีที่สามีของคุณเป็นผู้ออกเงินให้ซื้อ จะต้องให้เขารับทราบว่า เขาไม่มีส่วนร่วมในกรรมสิทธิ์ที่ดินนี้ แต่เขามีสิทธิเรียกร้องเงินคืนได้ถ้าจะเอากันขนาดถึงโรงถึงศาล (โปรดอ่านหัวข้อ "คนต่างชาติไม่มีสิทธิในที่ดิน แต่มีสิทธิในเงินค่าที่ดิน")
กฎหมายอนุญาตให้คนต่างด้าวซื้อที่ดินแบบนิติบุคคลได้ (เพื่อทำกิจการธุรกิจ) ในเรื่องนี้ขอให้ดูรายละเอียดในหนังสือเรื่อง "สิทธิของฉันในเยอรมัน"
กรมที่ดินวางระเบียบไว้ว่า ถ้าผู้หญิงไทยที่สมรสกับคนต่างด้าว นำเงินที่เป็นสินส่วนตัวไปซื้อที่ดิน โดยนำหลักฐานการงานและรายได้ไปแสดงให้กรมที่ดินเชื่อได้ ก็รับที่จะจดทะเบียนให้ โดยถือว่าที่ดินนั้นเป็นสินส่วนตัว
ในเรื่องนี้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1471 และ 1472 กล่าวไว้ว่า สินส่วนตัวคือทรัพย์สินที่มีมาก่อนสินสมรส หรือได้รับมรดก หรือได้รับโดยเสน่หาในระหว่างการสมรส และถ้าทรัพย์สินนั้นได้แลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินอื่น โดยการซื้อหรือขาย ก็ถือเป็นทรัพย์สินส่วนตัว
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1469 ให้สามีและภรรยาทำสัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินกันได้ในระหว่างสมรส ดังนั้น สามีก็อาจจะทำสัญญาว่าจะไม่เรียกร้องสิทธิในกรรมสิทธิ์ของที่ดินที่ภรรยาซื้อ และถือว่าเป็นสินส่วนตัวของภรรยาแต่เพียงผู้เดียว สัญญานี้คุณอาจจะให้สามีทำเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อนำไปยื่นให้กรมที่ดิน แต่ประมวลกฎหมายมาตรานี้กล่าวต่อไปว่า "ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่ หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากันก็ได้ แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริต"
คนต่างชาติไม่มีสิทธิในที่ดิน แต่มีสิทธิในเงินค่าที่ดิน
ถ้าคนต่างชาติออกเงินค่าซื้อที่ดินเพื่อหวังจะใช้ประโยชน์ หรือถ้าคนต่างชาติถูกชักชวนให้ซื้อที่ดิน โดยไม่รู้ว่าตนไม่ได้รับกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของ เมื่อเขาจะต้องสูญเสียที่ดินนั้นไปด้วยเหตุใดก็ตาม เขาสามารถฟ้องศาลเอาเงินคืนได้ ในเรื่องนี้ดิฉันขอจะชี้แจงด้วยการใช้ตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงๆคงจะทุ่นเวลาที่สุด
สามีภรรยา (ฝรั่ง-ไทย) คู่หนึ่งช่วยกันออกเงินซื้อบ้านและที่ดินในประเทศไทยเพื่อจะอยู่ร่วมกัน โดยจดทะเบียนกรรมสิทธิ์บ้านที่ดินเป็นของผู้หญ
โดย: [0 3] ( IP )
--------------------------------------------------------------------------------
ความคิดเห็นที่ 1
ิงฝ่ายเดียว (เนื่องจากฝ่ายชายไม่มีสิทธิ) ต่อมาทั้งคู่จดทะเบียนสมรสกัน ขณะยังผ่อนส่งบ้านยังไม่หมดและหม้อข้าวก็ยังไม่ทันจะดำ ทั้งคู่ก็แยกทางกัน เมื่อดูตามรูปการณ์แล้ว บ้านและที่ดินควรจะต้องตกเป็นของฝ่ายหญิงอย่างแน่นอน เพราะได้มาก่อนการสมรส จึงถือเป็นสินส่วนตัว แต่ฝ่ายชายยึดถือหลักความจริง จึงไปขึ้นศาลไทย ศาลไทยได้ตัดสินออกมาว่า ทั้งสองฝ่ายช่วยกันออกเงินซื้อบ้านหลังนั้นเพื่อจะใช้อยู่ร่วมกัน เมื่อจุดประสงค์นี้หมดสิ้นไป ฝ่ายชายก็มีสิทธิได้ส่วนของเขาคืนไป ฝ่ายหญิงต้องขายบ้านนั้นเอาเงินมาแบ่งให้ฝ่ายชายครึ่งหนึ่ง (คำพิพากษาศาลแพ่ง กรุงเทพมหานคร วันที่ 6 กรกฎาคม 2531)
ตัวอย่างนี้สอนให้รู้ว่า ศาลยุติธรรมไม่ได้เป็นทาสของตัวบทกฎหมาย แต่เป็นผู้ใช้กฎหมาย โดยอิงหลักความเป็นจริง
[บทความนี้คัดและย่อมาจากหนังสือเรื่อง "สิทธิของฉันในเยอรมัน" ซึ่งเป็นหนังสือเกี่ยวกับกฎหมายในวงจรชีวิตของคนไทยในเยอรมัน บทความนี้ไม่ใช่คำแนะนำทางกฎหมาย แต่เป็นบทความสนทนาเรื่องปัญหาเกี่ยวกับกฎหมาย และให้ข้อคิดเพื่อเก็บไปคิดต่อ ผู้เขียนไม่ขอรับผิดชอบในความถูกผิดแต่ประการใด>
หนังสือเรื่อง "สิทธิของฉันในเยอรมัน" (Bestell-Nr. 0293) ซึ่งยังมีกฎหมายประจำวันที่สำคัญๆ อีกมากมายเช่น วีซ่าประเภทต่างๆ กฎหมายสมรสและกฎหมายหย่า สิทธิการซื้อที่ดินในเมืองไทยหลังจากแต่งงานแล้ว เป็นต้น โปรดติดต่อสั่งซื้อได้ในราคา 40,- EUR
โดยคุณ สุชาวดี วาคเน่อร์ http://www.thailife.de
ค้นข้อมูล ทนายชูศักดิ์
ขอบคุณคุณ Archin ค่ะที่เอาลิงค์มาฝากกัน